แนวคิด
ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์สั่งสมจนมีความรอบรู้
มีทักษะ ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่มีคุณค่า
และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคม จนเป็นที่ยอมรับของสังคมว่าเป็นภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน
ภูมิปัญญาที่ผู้สูงอายุได้เรียนรู้สั่งสมและสืบทอดต่อกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันมีอยู่หลากหลายทั้งในด้านเกษตรกรรม
ด้านอุตสาหกรรม ด้านแพทย์แผนไทย
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม
ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา
ประเพณี และด้านโภชนาการ
ภูมิปัญญาด้านต่างๆ
เกิดจากการสะสมความรู้ และประสบการณ์อันยาวนานโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ลักษณะต่างๆ
แล้วเลือกสรรนำมาประพฤติปฏิบัติ ปรับปรุง
พัฒนาให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองและคนในสังคม
แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยทั่วไปที่นิยมใช้กันในทุกภูมิภาค
ได้แก่ สาธิตวิธีการ การสั่งสอนด้วยการบอกเล่าหรือการสอนด้วยวาจา
ในรูปของเพลงกล่อมเด็ก คำพังเพย สุภาษิต และการสร้างองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์
ในรูปของตำรา
วัตถุประสงค
1.
เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่ประชาชนทั่วไปในอำเภอแม่สรวย
2.
เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอแม่สรวย
สื่อและอุปกรณ
อุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้แต่ละฐาน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.
จัดนิทรรศการลานวิชาสู่ลานภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเผยแพร่แก่เยาวชนนอกระบบอำเภอแม่สรวย
3. กิจกรรมฐานความรู้ภูมิปัญญาการทอตุง การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ การทำบายศรี ภาษา
ล้านนา การปักผ้าชนเผ่า การทำลูกประคบสมุนไพร
4.
นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละฐานเพื่อรับการการถ่ายทอดความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
และบันทึกความรู้ที่ได้
และการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
การวัดและประเมินผล
1.
นักศึกษา
กศน. เข้าร่วมรับการถ่ายทอดความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น 500 คน
2.
กิจกรรมฐานการเรียนรู้ทั้งหมด
6 ฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น